ถ้าคุณอยากให้เซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ ทำงาน ได้อย่างเต็มที่ ต้องไม่ปล่อย ให้ร่างกายขาดน้ำโดยเด็ดขาดร่างกายมีน้ำเป็นส่วนประกอบ 3 ส่วน และสารประกอบอื่นๆ อีก 1 ส่วน โดยแบ่งออกเป็น
น้ำที่อยู่ในเซลล์ทั้งหมดของ ร่างกาย 50%
น้ำที่เคลือบอยู่รอบๆ เซลล์ 20%
น้ำเลือดหรือ พลาสมา 5 %
สังเกตได้ อย่างไรว่าร่างกายขาดน้ำ
ในแต่ละวันร่างกายต้องสูญเสียน้ำไปประมาณ 3.4 ลิตร ดังนั้นโอกาสที่ร่างกายจะขาดน้ำเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ซึ่งสามารถสังเกตได้ว่าร่างกายขาดน้ำ โดยดูจากอาการต่าง ๆ เหล่านี้
1. ผิวแห้งกร้าน ผิวหนังของคนเราประกอบด้วย Fiber , Collagen และ Glycos-Aminoglycans ซึ่งสามารถอุ้มน้ำไว้ได้ปริมาณมาก ส่วนประกอบของ Glycos-Aminoglycans ยังทำหน้ารักษาความยืดหยุ่นของผิว ถ้าร่างกายขาดน้ำร่างกายจะดึงน้ำจากเนื้อเยื่อมาใช้ เพื่อให้อวัยวะสำคัญๆ ยังคงทำงานได้ เพราะผิวหนังห่อหุ้มทุกส่วนของร่างกาย ผิวจึงเป็นส่วนสำคัญ ที่ถูกดึงน้ำออกมาใช้
2. ปากแห้ง น้ำลายเกิดจากน้ำ และ Electrolytes ซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้ปากชุ่มยังทำหน้าที่ย่อยอาหารด้วย ร่างกายต้องผลิตน้ำลาย 0.5-1.5 ลิตรต่อวัน แต่ถ้าเมื่อไรคุณอยู่ ในภาวะขาดน้ำ ร่างกายจะ ผลิตน้ำลายลดลงเพื่อรักษาการไหลเวียนของเลือด
3. ตะคริว เกิดจากภาวะร่างกายขาดน้ำเช่นกัน โดยเฉพาะนักกีฬามี โอกาสเกิดได้สูง เพราะการสูญ เสียเหงื่อจากการเล่นกีฬา ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเกิดตะคริวได้บ่อยในฤดูร้อน เพราะการสูญเสียเกลือ ไปทางเหงื่อ และภาวะน้ำร่างกายต่ำ
4. ความดันเลือดต่ำ เมื่อระดับน้ำในระบบไหลเวียนโลหิตลดลงจะส่งผลให้แรงดัน ในการไหลเวียนโลหิตลด ลงด้วย จนทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ
5. ท้องผูก เพราะเมื่อปริมาณน้ำในระบบโลหิตลดลง ร่างกายจะใช้ระบบ ป้องกัน ตนเองในภาวะฉุกเฉิน โดยการดึงน้ำจากทุกระบบรวมทั้งบริเวณปลายลำไส้ใหญ่ด้วย ซึ่งจะก่อให้เกิดอาการ ท้องผูก
6. ปัสสาวะสีเข้ม เนื่องจากความหนาแน่นของน้ำตาลและเกลือในกระแสเลือด เพิ่ม มากขึ้น ทำให้ต่อมพิ ทูอิทารีตอบสนองโดยการผลิตฮอร์โมนยับยั้งการหลั่งปัสสาวะ เพราะการดึงน้ำจาก ปัสสาวะนับเป็นทางที่ง่ายที่สุด
7. กระหายน้ำ อาการกระหายน้ำถูกควบคุมด้วยสมองส่วนหน้า เมื่อระดับน้ำในร่างกายต่ำลง ระดับของelectrolyte จะสูงขึ้นจนเป็นสาเหตุให้สมองส่วนหน้าส่งสัญญานให้ ร่างกายรู้สึกกระหาย น้ำ
8. เซื่องซึม ภาวะร่างกายขาดน้ำทำให้เลือดไปเลี้ยงสมอง และกล้ามเนื้อต่างๆลดลง ทำให้รู้สึกเหนื่อยและเซื่องซึมรู้สึกหงุดหงิดอารมณ์ เสียโดยไม่ทราบสาเหตุ
9. ปวดศรีษะ บางคนจะมีอาการปวดศีรษะร่วมด้วย โดยจะปวดศรีษะทั้ง 2 ข้าง
10. เกิดรอยคล้ำรอบดวงตา เนื่องจากลูกตาบรรจุด้วยของ เหลวปริมาณมากถ้าร่าง กาย เกิดภาวะขาดน้ำก็จะดึง น้ำออกไปจากเนื้อเยื่อบริเวณ ใต้ดวงตา จึงทำให้เกิดรอยคล้ำเพราะ บริเวณรอบดวงตาเป็นส่วนที่ไวต่อความรู้สึกดังนั้นคนเรา โดยเฉลี่ยต้องการน้ำวันละประมาณ 40 - 50cc/น้ำหนักตัว 1 Kg ถ้าคุณดื่ม น้ำมากๆผิวหนังจะเต่งตึง ไม่เหี่ยวย่น ส่วนไตก็จะขับของเสียได้ดีขึ้นโดยไม่ตอง ทำงานหนักมาก ถ่ายอุจจาระได้สะดวก ไม่มีอาการท้องผูก กระแสเลือดไหลเวียนดีทำให้ร่างกายได้รับอาหารและ ออกซิเจนสมบูรณ์ทั่วทุกอวัยวะ
ข้อแนะนำใน การดื่มน้ำมากๆ นั้น หมายถึง ตลอดระยะเวลาทั้งวันควรดื่มน้ำให้ได้ปริมาณมากไม่ใช่ ดื่มครั้งละมาก ๆ เพราะการที่มีน้ำเข้าสู่ร่างกายมากเกินไปจะเกิดอันตรายได้ ถ้าคุณฝืนดื่มน้ำเข้า ไปหรือการได้รับน้ำเข้าสู่กระแสเลือดเร็ว ๆ เช่นการให้น้ำเกลือ หรือการให้น้ำตาลกูลโคลทางหลอดเลือดดำ ถ้าไตไม่อาจขับน้ำออกได้ทันหรือไตเสียสมรรถภาพในการขับ ปัสสาวะ น้ำจะค้างอยู่ในร่าง กาย ทำให้เกิดอันตรายได้ เมื่อร่างกายอยู่ในภาวะที่มีน้ำมากเกินไปเรียกว่า"ภาวะ น้ำเกินหรือภาวะน้ำเป็นพิษ" ซึ่งจะมีลักษณะอาการบวมตามตัว ปวดศรีษะมือสั่นกระสับกระส่าย ซึม ชักกระตุก เนื่องจากสมองบวมเพราะมีน้ำคั่งในสมอง และหมดสติในที่สุด ทางที่ดีควรหันมาดื่มน้ำให้เพียงพอกับความต้องการของ ร่างกายคือ 6 - 8 แก้ว / วัน
No comments:
Post a Comment
Note: Only a member of this blog may post a comment.